Air pollution and COVID-19…Does it have any relation?
By Admin
December, 13 2021 | 12:00 am
##allairaround ##sensorforall
Article

?จากการแพร่ระบาดของ SARS-CoV-2 ที่เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนเมื่อช่วงปลายปี 2019 ทำให้ไวรัสชนิดนี้กระจายไปทั่วโลกโดย ณ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังคิดค้นยารักษาโรคที่เกิดจากไวรัสชนิดนี้ ในบางประเทศได้เริ่มทดลองวัคซีนกับผู้ป่วยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันยังคงมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ประชาชนยังคงรอคอยวัคซีนอย่างใจจดใจจ่อ เพื่อหวังว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นเหมือนเคย



?แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าอีกปัญหาหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนเผชิญอยู่ทุกปีจนหลายคนอาจเพิกเฉยต่อวิกฤตินี้ไปแล้วคือ ปัญหามลพิษทางอากาศ (Air pollution) ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 สูงและมีปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงไปพร้อม ๆ กันคือ อิตาลี ด้วยการควบรวมวิกฤติการณ์ทั้งสองนี้เอง ทำให้คุณ Dario Caro นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่ง Aarhus University ประเทศเดนมาร์คและคุณ Bruno Frediani กับ Dr. Edoardo Conticini นักวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่ง University of Siena ประเทศอิตาลี ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กับฝุ่น PM2.5 ที่ตอนเหนือของประเทศอิตาลี (เมือง Lombardy และ Emilia Romagna) เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ และท่ามกลางวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้ด้วยแล้วทำให้ประชากรทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 12% ในขณะเดียวกันมีเพียง 4.5% ในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ



?โดยปกติแล้วเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์จากการหายใจ (รวมถึงสารจำพวก PM ด้วย) จะมีส่วนของเซลล์ที่เรียกว่า “ซีเลีย” (Cilia) ทำหน้าที่ดักจับสิ่งเหล่านั้นไม่ให้ลงไปสู่ปอด (ซีเลียพบมากบริเวณหลอดลม ก่อนถึงปอด) แต่สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาของมลพิษทางอากาศเป็นระยะเวลานานทำให้เจ้าซีเลียนี้สูญเสียความสามารถในการปัดกวาดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย ด้วยสาเหตุนี้เองทำให้ทางทีมนักวิจัยคาดว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประชากรทางตอนเหนือของอิตาลีที่อาศัยอยู่บริเวณที่มีความหนาแน่นของมลพิษทางอากาศสูงมีอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 สูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ทั้งนี้ทางทีมผู้วิจัยยังชี้ว่าสาเหตุอื่น ๆ เช่น อายุ และความแตกต่างในการรายงานผู้เสียชีวิตของแต่ละประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวเลขผู้เสียชีวิตเช่นเดียวกัน



?* ในประเทศอิตาลีมีประชากรผู้สูงอายุมากถึง 23% มากกว่าประเทศไทยถึง 2 เท่า! (12.4%) จากข้อมูลโครงสร้างอายุของประชากรในปี 2019





แหล่งอ้างอิง

1. Cao, Yu et al. "Environmental pollutants damage airway epithelial cellcilia: Implications for the prevention of obstructive lungdiseases" Thoracic cancer. 11(2020): 505-510.

2. Conticini, E., Frediani, B., and Caro, D. “Can atmospheric pollution be considered a co-factor in extremely high level of SARS-CoV-2 lethality in Northern Italy?” Environmental pollution. 261(2020): 1-3.

3. Statista. “Age structure in Thailand from 2009 to 2019”. [online]. Available: https://www.statista.com/.../age-structure-in-thailand/

4. Statista. “Italy: Age distribution from 2009 to 2019”. [online]. Available: https://www.statista.com/.../age-distribution-in-italy/

##allairaround ##sensorforall